เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (Information Technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์
Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
อ้างอิงจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
และ http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm
ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.RAM
RAM ย่อมาจาก Random Access Memory คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป) RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
RAM ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU หรือ Central Processing Unit ซึ่งเป็นหัวใจหรือสมองของคอมพิวเตอร์นั้นๆให้ประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ เมื่อ CPU คำนวณเสร็จแล้ว จะส่งผลการคำนวณหรือวิเคราะห์นั้นๆกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ เช่น ทางหน้าจอมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
การทำงานของ RAM นั้น จะเป็นการทำงานหรือการเขียน/บันทึกข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งหมายถึง หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU สามารถเข้าถึงทุกส่วนของ RAM ได้ สามารถบันทึกข้อมูลลงตรงจุดไหนก็ได้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการบันทึกและอ่านข้อมูลนั่นเอง ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Random access
RAM สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. Input Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจาก Input devices เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ Barcode reader และอื่นๆ โดยจะเก็บไว้เพื่อส่งให้ CPU ทำการประมวผล คำนวณหรือวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นต่อไป
2. Working Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผลของ CPU
3. Output Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์โดยหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU แล้วและอยู่ระหว่างรอส่งผลการประมวลดังกล่าวกลับคืนไปให้โปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง เพื่อแสดงผลทาง Output devices ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้
4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
เมื่อพิจารณาจากหน้าที่ของ RAM ในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็จะเห็นว่า RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยิ่งคอมพิวเตอร์เครื่องใดมี RAM มาก ก็จะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นด้วย แต่การจะเพิ่ม RAM ให้กับระบบคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น งบประมาณ ความต้องการแรมของโปรแกรมที่เราใช้งาน และจำนวนช่อง (Slot) ในแผลวงจรหลักที่สามารถรองรับ RAM ได้เพิ่มอีกหรือไม่ เป็นต้น
RAM มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
แรมมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เช่น
- SRAM (Static RAM)
- NV-RAM (Non-volatile RAM)
- DRAM (Dynamic RAM)
- Dual-ported RAM
- Video RAM
- WRAM
- FeRAM
- MRAM
RAM ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทคือ
- SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory)
- DDR RAM หรือ DDR-SDRAM (Double Data Rate SDRAM)
โดยที่ DDR SDRAM นั้นได้รับความนิยมมากกว่าในปัจจุบันเนื่องจากมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่าแบบ SDRAM ธรรมดา ส่วนราคานั้นก็ไม่แตกต่างกันมาก
Module หรือ รูปแบบของ RAM ที่นิยมใช้มีดังนี้
- Single in-line Pin Package (SIPP)
- Dual in-line Package (DIP)
- Single in-line memory module (SIMM)
- Dual in-line memory module (DIMM)
- Small outline DIMM (SO-DIMM) เป็น DIMM ที่มีขนาดเล็ก ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล็บท็อป
- Small outline RIMM (SO-RIMM)
อ้างอิงจาก http://www.comgeeks.net/ram/
2.External Harddisk
คืออุปกรณ์เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถพกพาหรือนำติดตัวไป ยังสถานที่ต่างๆ โดยใช้ Harddisk ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ มาติดตั้งในกล่องสำหรับใส่ Harddisk โดยจะมีแผงวงจรควบคุมการทำงานของ Harddisk ที่ติดตั้งอยู่ในกล่อง โดยคุณสามารถเลือกขนาดความจุของ Harddisk มาติดตั้งในกล่องนี้ได้ตามความต้องการ และชนิดของ Harddisk ที่จะนำมาติดตั้งในกล่องนี้ ต้องเลือกให้ถูกต้องกับประเภทของกล่องซึ่งจะมีอยู่ สองแบบ โดยทั่วไป คือ IDE หรือ SATA แต่เดี๋ยวนี้ก็เริ่มจะมีทั้ง e-SATA เข้ามาบ้างแล้ว รวมถึงเทคโนโลยีการถ่ายโอนข้อมูลล่าสุด USB 3.0 ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
สำหรับขนาดของ External Harddisk ก็จะมีสองแบบด้วยกันคือแบบที่นำ Harddisk มาจากเดสก์ท็อป อันนี้จำเป็นจะต้องใช้เคสที่มีขนาดใหญ่กว่าเนื่องจากลูกจะใหญ่และจำเป็นจะ ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากภายนอกด้วย อีกอันจะเป็นการนำเอา Harddisk ของโน๊ตบุ๊ตมาใส่ผ่านแผงวงจร ไม่จำเป็นจะต้องใช้ไฟเลี้ยงจากภายนอกและมีขนาดเล็กกว่า พกพาสะดวก แต่มีราคาที่สูงกว่าแบบตัวใหญ่พอสมควร
ส่วนการเชื่อมต่อ ( Interface ) เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้สาย USB ต่อผ่านเข้าทาง Port USB โดยมักจะมีสาย USB จำนวน 2 เส้น โดยที่เส้นหนึ่งจะเป็นสายสำหรับรับไฟจาก Port USB บนเครื่องคอมพิวเตอร์มาจ่ายเป็นพลังงานให้กับวงจรควบคุม Harddisk ในกล่อง External Harddisk Box หรือ Case และตัว Harddisk ที่ติดตั้งอยู่ในกล่อง อีกเส้นหนึ่งจะเป็นช่องทางส่งผ่านข้อมูลเข้าและออก โดยจะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน
External storage
หมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก(main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk)เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัดเราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external memory, secondary memory และ auxiliary storage
อ้างอิงจาก http://www.nasshops.net/cms.php?id_cms=8
3.โปรเจคเตอร์ (Projector)
โปรเจคเตอร์ (Projector) คืออุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์, เครื่องเล่นวีซีดี, เครื่องเล่นดีวีดี, และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหน่วยงานราชการ, สถานศึกษา, สำนักงานหรือบริษัทเอกชนรวมไปถึงการใช้งานเพื่อการตอบสนองความต้องการในด้าน Home Entertainment โดยใช้เชื่อมต่อเป็น Home Theater เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสสำหรับความบันเทิงในบ้าน เป็นเครื่องฉายภาพขนาดใหญ่ที่สามารถนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ แสดงให้คนดูได้หลายคน ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
- แบบ LCD (Liquid Crystal Display) เหมาะที่จะใช้งานเช่น Home Entertainment หรือห้องประชุมที่มีผู้ร่วมประชุมไม่มากนัก และการ Present ด้วยภาพ มีสีที่สด สว่าง น่าชม ให้สีที่เป็นธรรมชาติมากกว่า มีความคมชัดและแม่นยำ ที่ค่า lumen เท่ากัน LCD จะสว่างกว่า DLP
- แบบ DLP (Digital Light Processing) เหมาะสำหรับการใช้กับห้องที่มีพื้นที่มาก และข้อมูลที่เป็นแบบตัวเลขหรือตาราง มีค่า Contrast สูง ช่องว่างระหว่างพิกเซลน้อยแต่ละพิกเซลเรียงตัวได้ชิดกันมาก
มีน้ำหนักเบา อายุการใช้งานยาว
ทำไมคนทำงานหรือสำนักงานต้องใช้เทคโนโลยีนี้
เพราะโปรเจคเตอร์มีความสามารถในการขยายสิ่งที่จะแสดงเนื้อหา ตาราง รูปภาพให้ใหญ่และเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อมีการประชุมหรือแสดงตาราง กราฟต่างๆ เวลามีการประชุมหรือPresentงาน โปรเจคเตอร์จะทำให้คนในสำนักงานให้ความสนใจ ตั้งใจและมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่สำนักงานจะนำเสนอมากขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และโปรเจคเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายไม่ค่อยยุ่งยากและซับซ้อน
การใช้งาน
เมื่อมีการประชุม, การPresent, การสัมมนา, การระดมสมอง, การจัดอบรมพนักงาน, แสดงรูปภาพ กราฟหรือแผนภูมิต่างๆ
วิธีการติดตั้งและใช้งานอย่างง่ายๆ มีข้อแนะนำ ดังนี้
1.ติดตั้งจอภาพในที่ที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด เพื่อให้รับภาพได้คมชัดมากขึ้น
2.ควรหาที่วางเครื่องโปรเจคเตอร์ให้สูงจากพื้นห้องขึ้นมาพอสมควร เพื่อป้องกันการชนเครื่องและป้องกันฝุ่นละออง
3.เตรียมสายต่างๆ ที่จะต่อเข้าเครื่องก่อน จากนั้นจึงนำเครื่องโปรเจคเตอร์วางลงบนที่วาง และหันเลนส์ไปยังจอภาพที่จะฉาย ( ไม่ควรปรับมุมให้แหงนเกิน 45 องศา) จากนั้นจึงต่อสายเข้าเครื่องและเปิดปุ่ม POWER
4.เปิดฝาครอบเลนส์แล้วรอสักครู่ ภาพจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นบนจอภาพ
5.ปรับตัวเครื่อง โดยกะด้วยสายตาให้ได้ระยะและองศาที่ดี หรือดูจากภาพบนจอจนได้ภาพและมุมตามที่ต้องการพร้อมทั้งปรับวงแหวนการปรับระยะ และวงแหวนปรับโฟกัสซึ่งจะอยู่ติดกับเลนส์จนชัดเจน
6.เมื่อตรวจรายละเอียดพอคร่าวๆ แล้ว กดปุ่ม AUTO SET UP เพื่อให้เครื่องปรับภาพให้ใกล้เคียงมาตรฐานมากที่สุด ถ้าไม่มีก็ทำการปรับที่ MENU
7.การปิดเครื่อง กดปุ่ม POWER ให้โปรเจคเตอร์อยู่ในสถานะ STAND BY รอจนเครื่องเย็นจึงค่อยถอดปลั๊ก POWER
การติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ในเรื่องของการต่อเชื่อมนั้น คอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะมีการส่งข้อมูลระหว่าง Notebook กับจอมอนิเตอร์หรือโปรเจคเตอร์ ฉะนั้นคุณจะต้องต่อเชื่อมสายสัญญาณ VGA ให้เสร็จ ก่อนจะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนโปรเจคเตอร์ก็ให้ Standby หรือเปิดเครื่องไว้ได้เลย บางเครื่องต้องเข้าไป set ใน properties ของหน้าจอก่อน ซึ่งสามารถทำได้ดังขึ้นตอนต่อไปนี้
1.คลิกปุ่มขวาของเมาส์บน wallpaper
2.จะปรากฏเมนูขึ้นมาให้เลือก properties
3.จะปรากฏเมนูอีกอันขึ้นมาแทนให้เลือก setting
4.เลือก Advance
5.เลือก Monitor
6.เลือก ระหว่าง LCD. ของคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Monitor หรือ เลือกให้ออกทั้งสองอย่างพร้อมกัน ถ้าเลือก Monitor ภาพก็จะแสดงออกทางโปรเจคเตอร์ ( ขั้นตอนนี้อาจไม่เหมือนกันแล้วแต่ driver ของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ Notebook บางเครื่องก็อาจจะเลือกให้แสดงพร้อมกันไม่ได้ ) นอกจากนี้บางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ก็อาจตั้งความถี่ในการ refresh rate ไม่ถูกต้องทำให้ภาพที่ฉายออกทางโปรเจคเตอร์สั่น หรือภาพอาจไม่อยู่ในตำแหน่ง หรือภาพอาจจะขาดหายได้ โดยเฉพาะโปรเจคเตอร์รุ่นเก่าๆที่ยังไม่ได้แก้ปัญหานี้ ก็ควรจะตั้ง refresh rate ของคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องด้วย ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ของคุณไม่สามรถแสดงภาพออกพร้อมๆ กัน ทั้งมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์แล้วละก็ อาจพอมีทางแก้โดยใช้เครื่องกระจายสัญญาณ VGA ชนิดเข้า 1 ออก 2 โดยต่อเครื่องกระจายสัญญาณเข้ากับคอมพิวเตอร์ Notebook และต่อโปรเจคเตอร์เข้ากับเครื่องกระจายสัญญาณ จากนั้นให้หาจอมอนิเตอร์มาต่อเข้ากับเครื่องกระจายสัญญาณ เท่านี้ก็สามารถดูภาพจากหน้าจอมอนิเตอร์ไปพร้อมๆ กับโปรเจคเตอร์ได้แล้ว
ประโยชน์การใช้งานโปรเจคเตอร์(Projector) ทำให้เกิด QCDM กับงานคือ
ช่วยการทำงานมีประสิทธิภาพ มีการประชุมกันทำให้เกิดความสามัคคีร่วมกัน มีการร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้คนในองค์กรมีความเข้าใจร่วมกัน ทำให้การทำงานรวดเร็วและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแม้ว่าโปรเจคเตอร์อาจมีราคาที่สูงแต่ก็มีความคุ้มค่า มีความสำคัญมากมายในการใช้งาน สามารถใช้งานได้ซ้ำหลายครั้ง เมื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อ้างอิงจาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=2057&read=true&count=true
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น